6 โรคที่เกิดจากการนอนดึกตื่นสาย ภัยเงียบที่ไม่ควรละเลย
เขียนเมื่อวันที่ 10/08/2021
ผลของการนอนดึกตื่นสาย อันตรายกว่าที่คิด
การนอนช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นประโยคที่หลายคนอาจคุ้นหู แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปฏิบัติตามได้ ยิ่งช่วงวันหยุดมีหลายคนเลือกนอนดึกเพราะไม่ต้องตื่นเช้าไปทำงาน โดยการทำกิจกรรมจนเลยเวลามารู้ตัวอีกทีก็ตี 2-ตี 3 มาตื่นนอนอีกครั้งก็บ่ายโมงซะแล้ว แม้คุณคิดว่าการนอนชดเชยจนครบ6-8 ชั่วโมงต่อวันเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่รู้ไหมว่าพฤติกรรมนอนดึกตื่นสายไม่ได้ช่วยทดแทนเวลานอนที่เสียไป แถมมีผลเสียต่อร่างกายมากมาย
สาเหตุการนอนตื่นสาย มีอะไรบ้าง
สภาพแวดล้อมตอนนอนไม่เหมาะสม
ร่างกายของเราสามารถทำความเข้าใจได้โดยอัตโนมัติว่าเวลาใดคือเวลาตื่น เวลาใดคือเวลานอน ด้วยการอาศัยความมืดและความสว่างเป็นตัวช่วยกำหนด แต่ถ้าสภาพแวดล้อมในการนอนไม่เหมาะสม ทั้งมีแสงสว่างมากเกินไปหรือมีการส่งเสียงที่ดังเกินไป ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นอนไม่หลับ
เปลี่ยนตารางเวลานอน
ถ้าตารางเวลานอนของคุณเอาแน่เอานอนไม่ได้ เพราะเล่นเกมดึก อ่านหนังสือ ดูซีรีย์เพลิน เปลี่ยนเวลาทำงานจากเดิมเข้ากะกลางวันมาเป็นกลางคืน หรือต้องสลับกะอยู่ตลอดเวลา เมื่อร่างกายต้องเปลี่ยนเวลานอนอยู่บ่อยครั้ง ไม่แปลกที่จะมีอาการง่วงหรือเหนื่อยล้าช่วงทำงาน เนื่องจากร่างกายปรับเวลาไม่ทัน
ผลจากยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยารักษาโรคบางชนิดอาจทำให้รู้สึกง่วงหรือส่งผลให้มีปัญหากับการนอนได้เช่นกัน รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน อาจทำให้บางคนรู้สึกตื่นตัวไม่ง่วงนอนจนนอนดึกในที่สุด
ความเครียด ความวิตกกังวล
ความเครียดและอาการวิตกกังวลจากแรงกดดันที่มีสาเหตุมาจากปัญหาในชีวิตประจำวัน ถือเป็นอาการเบื้องต้นที่ทำให้นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ จนส่งผลให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย จิตใจไม่สดชื่นแจ่มใส หงุดหงิดง่าย และถ้าควบคุมตนเองทำให้แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้
6 โรคร้ายที่เกิดจากการนอนดึกตื่นสาย
(1) โรคอ้วน
การอดนอนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะระบบเผาผลาญทำงานได้ลดลง
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่ได้เกิดจากการทานอาหารแล้วไม่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่การนอนดึกก็เป็นอีกสาเหตุของโรคอ้วนเช่นกัน เพราะการนอนดึกจนพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ระบบเผาผลาญไขมันได้ช้าลง นอกจากนี้คนนอนดึกตื่นสายยังพลาดอาหารเช้า ซึ่งเป็นอาหารมื้อสำคัญของวันอีกด้วย
(2) ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ
การนอนดึกไม่ได้ส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญเท่านั้น ยังมีผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดเพี้ยนไปด้วย ทั้งระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีพอ จนส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกบ่อย ถ่ายยาก หากใครมีอาการดังกล่าว นี่อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกว่าระบบย่อยอาหารของคุณกำลังมีปัญหา ถ้าชะล่าใจอาจรุนแรงถึงขั้นลำไส้ผิดปกติหรือลำไส้อุดตัน
(3) โรคเบาหวาน
หากมีน้ำตาลกลูในเส้นเลือดสูง เพิ่มโอกาสป่วยเบาหวาน
การนอนดึกส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้สูงกว่าบุคคลทั่วไป เพราะอาจมีอาการหิวในช่วงดึก ทั้งยังส่งผลให้รู้สึกว่าร่างกายต้องการน้ำตาลมากขึ้น จนอยากกินของหวานตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่ระดับน้ำตาลกลูโคสและอินซูลินในเส้นเลือดเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
(4) ปวดหัว
บางรายมีอาการปวดหัว มึนหัว หลังจากตื่นนอน เนื่องจากการนอนน้อยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ถ้าคุณเป็นโรคไมเกรน มีโอกาสสูงที่อาการจะกำเริบมากกว่าคนที่ไม่เป็นไมเกรน
(5) อารมณ์แปรปรวน
คนที่นอนดึกหรือนอนน้อยเป็นผลให้ฮอร์โมนและระบบการทำงานของสมองไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ จนเป็นสาเหตุให้หงุดหงิดง่าย มีสมาธิสั้น การตอบสนองต่อสิ่งภายนอกช้า คิดช้าหรือพูดช้า และอาจส่งผลต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งยังเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
(6) โรคหลอดเลือดหัวใจ
นอนไม่เพียงพอ เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
เมื่อนอนไม่พอจนนาฬิกาของร่างกายผิดเพี้ยน มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ จนทำให้มีสารโปรตีนมาสะสมเกาะภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ พอหลอดเลือดตีบแคบลงหรืออุดตันจนปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ถือเป็นภาวะที่อันตรายและอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างกะทันหัน
วิธีแก้ปัญหาการนอนดึก ที่ช่วยให้หลับสบายขึ้น
เมื่อรู้ข้อเสียของการนอนดึกตื่นสายกันไปแล้ว ลองมาดูวิธีแก้ปัญหาที่ช่วยให้คุณหลับสบายยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคร้าย
- เข้านอนให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ
- ปรับเปลี่ยนบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะสมแก่การนอน โดยห้องนอนควรมืดสนิทและไม่มีเสียงรบกวนแทรกเข้ามาได้
- ไม่ทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเตียงนอน เช่น ดูทีวี หรือเล่นเกมมือถือ
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สดชื่นก่อนเข้านอน และไม่ออกกำลังกายก่อนเข้านอน
- ถ้านอนไม่หลับเกิน 15-20 นาที ให้ลุกออกจากเตียงมาหากิจกรรมอย่างอื่นทำ ไม่ว่าจะเป็นฟังเพลง นั่งสมาธิ หรืออ่านหนังสือวิชาการ ซึ่งน่าจะช่วยให้รู้สึกง่วงได้ไม่น้อย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ เพื่อลดความตึงเครียดทางอารมณ์และร่างกาย
- ไม่ควรนอนเวลากลางวัน ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรนอนไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้กลางคืนนอนไม่หลับ
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักหรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากมีอาการกรดไหลย้อน
จะเห็นได้ว่าการนอนน้อยหรือนอนดึกตื่นสายล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ฉะนั้นควรหันมาใส่ใจเรื่องการนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางอย่างเพื่อให้นอนหลับง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลี่ยงอาหารบางชนิดที่ไม่ควรกินก่อนนอน ลดความเครียดความกังวลให้น้อยลง รวมถึงงดดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนก่อนนอน สุดท้ายหากยังแก้ปัญหานอนดึกไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและรับการรักษาต่อไป
และเพื่อลดความเสี่ยงของโรคร้ายที่ไม่คาดฝัน นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว การทำประกันภัยสุขภาพเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เข้ามาคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวยามเจ็บป่วยในอนาคต โดย Hugs Insurance มีแผนความคุ้มครองประกันภัยสุขภาพจากบริษัทชั้นนำที่น่าสนใจ มาให้คุณเลือกซื้อเพื่อวางแผนรับมือปัญหาสุขภาพในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยสุขภาพทิพยจัดเต็ม จากทิพยประกันภัย เบี้ยแค่ 15,000 บาทต่อปี แต่คุ้มครองทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก หรือประกันภัยสุขภาพ Health Me ที่ให้วงเงินคุ้มครองสูงสุด 10 ล้านบาทต่อปี แต่เบี้ยเริ่มต้น 6,205 บาท หรือถ้าใครสนใจซื้อประกันภัยอื่น ๆ สามารถปรึกษาฮักส์ได้ที่ Facebook Line หรือ โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล