10 โรคประจำตัวที่ไม่ควรขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
เขียนเมื่อวันที่ 25/06/2021
รู้กันหรือยัง มีโรคอันตรายอะไรที่ห้ามขับรถ
ทุกวันนี้มีแนวโน้มผู้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้น เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง ขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เพิ่มตามไปด้วย ทั้งจากความประมาทของผู้ขับขี่หรือปัญหาสุขภาพบางประการ ทำให้ผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมรถได้ จนอาจนำไปสู่เหตุการณ์เลวร้ายถึงขั้นสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินต่อผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อเป็นการป้องกันดีกว่าแก้ปัญหาที่ปลายทาง ทางกรมขนส่งทางบกได้กำหนดคุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิ์สอบใบขับขี่ รวมถึงเพิ่มอาการป่วยหรือโรคที่ห้ามทำใบขับขี่
แต่ก่อนนำรถมาใช้บนท้องถนน มีสิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม นั่นคือ ใบขับขี่หรือใบอนุญาตขับขี่ที่ต้องพกติดตัวตลอดเวลาที่มีการใช้ยานพาหนะ โดยหน้าที่ในการออกใบอนุญาตขับขี่เป็นของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งทุกวันนี้ผู้ขับขี่ต้องดำเนินการต่ออายุใบขับขี่แบบชั่วคราว (2 ปี) และแบบ 5 ปี หลังใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีพนั้นถูกยกเลิก แต่ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทางกรมการขนส่งทางบกได้อนุญาตให้ต่อใบขับขี่ออนไลน์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
บุคคลที่ไม่มีสิทธิ์สอบใบอนุญาตขับขี่
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ระบุว่าบุคคลใดมีลักษณะตรงตามข้อกำหนดต่อไปนี้ ถือเป็นบุคคลต้องห้ามไม่สามารถสอบใบขับขี่ได้ไว้ดังนี้
(1) ผู้ที่อยู่ระหว่างการยึดใบขับขี่
(2) ผู้ที่ถูกเพิกถอนใบขับขี่ ในกรณีนี้ถ้าถูกเพิกถอนใบขับขี่ จะสามารถสอบใบขับขี่ได้ก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาไปแล้ว 3 ปี นับตั้งแต่วันแรกที่ถูกเพิกถอนไป
(3) ผู้พิการทางร่างกาย ตั้งแต่แขน ขา ตาบอด หูหนวก และลำตัวพิการที่เป็นเหตุไม่สามารถทำให้ขับรถยนต์ได้
(4) ผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาทและป่วยทางจิต
(5) ผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(6) ผู้ที่ติดสุรา ของมึนเมา และติดยาเสพติดทุกประเภท
(7) ผู้ที่เคยถูกจำคุกจากความผิดเกี่ยวกับการใช้รถ ยกเว้นผู้ที่ได้รับโทษฐานกระทำความผิดโดยประมาทและพ้นโทษมาแล้วเกิน 3 ปี
(8) ผู้ที่ถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคม
(9) ผู้ที่ถูกพิพากษาถึงที่สุดหรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ในความผิดดังต่อไปนี้
- ขับขี่ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
- ขับขี่ขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
- ขับขี่ในลักษณะกีดขวางการจราจร
- ขับขี่โดยใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- ขับขี่โดยประมาณหรือน่าหวาดเสียว
- ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
ทั้งนี้ เมื่อบุคคลที่ถูกพิพากษาพ้นโทษครั้งสุดท้ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน จึงสามารถสอบใบขับขี่ได้
โรคต้องห้ามทำใบขับขี่ มีอะไรบ้าง
กรมการขนส่งทางบกได้ระบุโรค หรืออาการป่วยที่ห้ามทำเรื่องขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถไว้ในใบรับรองแพทย์ ตามรูปแบบที่แพทยสภากำหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการทุกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
- โรคเท้าช้าง
- โรควัณโรค
- โรคเรื้อน
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคลมชัก
แต่เมื่อพิจารณาโรคอันตรายห้ามขับรถที่ถูกระบุไว้ในใบรับรองแพทย์ พบว่ายังมีโรคที่ไม่เหมาะสมกับการขับรถเนื่องจากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและคนอื่น ประกอบด้วย
1. โรคที่เกี่ยวกับสายตา
โรคที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์และความบกพร่องของการทำงานทางสายตา อาทิ ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ทำให้การมองเห็นมุมมองของสายตาแคบลง มองเส้นทางช่วงเวลากลางคืนไม่ชัดเจน จึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
2. โรคทางสมองและระบบประสาท
โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มาก อย่างอาการหลงลืมทำให้ผู้ขับขี่มีอาการหลงลืมจดจำเส้นทางไม่ได้ และโรคเหล่านี้ยังส่งผลตัดสินใจช้า หรือขาดสมาธิในการขับรถ
3. โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมอง นอกจากมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและระบบสมองอาจสั่งการได้ไม่ดีเช่นเดิม ส่งผลต่อการบังคับพวงมาลัย เปลี่ยนเกียร์ หรือเหยียบเบรก ทั้งความไวของการตอบสนองของเหตุการณ์ของผู้ขับขี่ลดลงตามไปด้วย
4. โรคพาร์กินสัน
เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น และเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี แม้อาการสั่นจะลดลงตอนที่ผู้ป่วยขยับตัว แต่หากขับรถก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
5. โรคลมชัก
เป็นโรคที่เกิดจากการมีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติในสมองทำให้เกิดอาการเกร็งชัก และกระตุกโดยที่ไม่รู้สึกตัว ทำให้ควบคุมการขับขี่ไม่ได้จึงเป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมทาง
6. โรคข้ออักเสบหรือข้อเสื่อม
เป็นการเสื่อมสภาพของข้อ ทำให้มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อจนไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มที่ โดยอาการป่วยที่ส่งผลกระทบต่อการขับรถ อาทิ
- ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกหรือคันเร่งได้ไม่เต็มที่
- กระดูกคอเสื่อม ผู้ป่วยมีอาการปวดคอ อาจถึงขั้นเอี้ยวคอดูสภาพการจราจรได้ลำบาก
- กระดูกหลังเสื่อม อาการนี้เป็นผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถนั่งขับรถเป็นเวลานานได้
7. โรคหัวใจ
โรคหัวใจหนึ่งในโรคประจำตัวอันตรายที่ห้ามขับรถ
เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกได้ เมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจต้องขับรถเป็นเวลานานอาจเกิดความเครียดจากสภาพการจราจรที่ติดขัด ก่อนนำไปสู่อาการวูบและหมดสติระหว่างขับรถ
8. โรคเบาหวาน
หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว เหงื่อออกมาก และใจสั่น ถ้าอาการไม่รุนแรงก็สามารถขับรถได้ แต่หากอาการรุนแรงทำให้หมดสติ จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
9. โรคความดันโลหิตสูง
เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงกะทันหัน เมื่อต้องพบเจอกับความเครียดบนท้องถนน มีโอกาสทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอาจถึงขั้นหน้ามืดเป็นลม ถ้ามีอาการรุนแรงคือเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น
10. ทานยาที่มีผลให้เกิดอาการง่วงซึม
การทานยาที่มีผลข้างเคียงเกิดอาการง่วงซึม ทำให้การตัดสินใจในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินช้าลง โรคเหล่านี้ล้วน ทำให้ความสามารถการขับขี่รถยนต์มีน้อยลง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ถ้าคุณมีโรคประจำตัวข้างต้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถยนต์ด้วยตนเอง นอกจากนี้ผู้ขับขี่ทุกคนควรเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ด้วยประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองทั้งรถและคุณ หากกังลวลเรื่องอาการเจ็บป่วยการทำประกันภัยสุขภาพก็สามารถช่วยดูแลทั้งค่ารักษาพยาบาลจากโรคและอุบัติเหตุ ฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์ประกันภัย มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ภาคสมัครใจของบริษัทประกันภัยให้คุณเลือกความคุ้มครองได้ตามไลฟ์สไตล์การขับขี่ สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook, Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล: ระเบียบกรมการขนส่งทางบก, พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522, กรมการขนส่งทางบก
อุ่นใจทุกการเดินทาง ด้วยประกันภัยรถยนต์...ที่นี่