loading
โรคไตกินอะไรได้บ้าง ไม่เสี่ยงอาการหนัก

โรคไตกินอะไรได้บ้าง ไม่เสี่ยงอาการหนัก

เขียนเมื่อวันที่ 27/07/2021

อาหารหรือผลไม้อะไรบ้าง ที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้

ไตเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกายออกทางปัสสาวะ นอกจากนี้ไตยังมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และความเป็นกรดด่างของเลือด หากไตทำงานผิดปกติจนไม่สามารถขับของเสีย น้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกมาจากร่างกายได้ สุดท้ายป่วยเป็นโรคไตในที่สุด

อาหารที่ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง

เพื่อรักษาและยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานยิ่งขึ้น การควบคุมอาหารก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน และชะลอการเสื่อมของไต โดยอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตห้ามกินนอกจากอาหารรสเค็ม มีดังนี้

(1) หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีโซเดียมมาก อาทิ ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู ซอสต่าง ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้มคัพ โจ๊กซอง ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ  รวมถึงอาหารหมักดอง เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป อย่างไส้กรอก กุนเชียง แฮม และหมูหยอง

(2) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันอิ่มตัวสูง อาทิ ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม ขาหมู รวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมของเนย ครีม และผลิตภัณฑ์ขนมอบ

(3) ลดทานเนื้อสัตว์ติดมัน อาทิ คอหมูย่าง เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่

(4) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง อย่างผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว กุ้งแห้ง

(5) หลีกเลี่ยงการบริโภคผัก ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง อาทิ หัวปลี แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ผักคะน้า กล้วย ฝรั่ง ลูกพรุน น้ำมะพร้าว เป็นต้น

(6) น้ำหวานทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม น้ำแดง น้ำเขียว หรือชานมต่าง ๆ ที่มีรสหวาน รวมถึงน้ำเชื่อมที่ควรหลีกเลี่ยง หรือถ้าทานก็ต้องควบคุมปริมาณอย่างเข้มงวด

 

แก้วน้ำเต้าหู้กับเมล็ดถั่วเหลือง

น้ำเต้าหู้ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งเพิ่ม ผู้ป่วยโรคไตสามารถทานได้

อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้ มีอะไรบ้าง

(1) เนื้อสัตว์ จำพวกเนื้อปลา ปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันต่ำและโอเมก้า3 หรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง

(2) อาหารจำพวกแป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยวทุกมื้อ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อร่างกาย

(3) ไข่ขาว

(4) เลือกใช้น้ำมันชนิดที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว  อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก  น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่า แทนน้ำมันหมูและน้ำมันจากสัตว์ในการประกอบอาหาร

(5) เลือกทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ ผักและผลไม้ที่มีสีอ่อน ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิล องุ่นเขียว ชมพู่ แตงโม มะม่วงดิบ สับปะรด ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา เป็นต้น

(6) น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตต้องการมากที่สุด สามารถดื่มได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยที่มีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่เกินวันละ 700-1,000 cc. โดยค่อย ๆ จิบน้ำระหว่างวัน เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำ

(7) น้ำสมุนไพรไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน น้ำกระเจี๊ยบ เป็นต้น

(8) เลือกใช้เครื่องเทศและสมุนไพรในการปรุงอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้น อย่าง หอมแดง ใบมะกรูด กระเทียม ใบโหระพา ข่า ใบแมงลัก ตะไคร้ เป็นต้น

ถึงแม้อาหารเหล่านี้จะทานได้ แต่ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทานมากจนเกินไป ทั้งต้องรักษาสมดุลของอาหารให้ดี โดยการทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ทานเมนูเดิม ๆ ทุกวัน เพื่อให้ได้สารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน ที่สำคัญต้องทานให้ครบทั้ง 3 มื้อด้วย

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไต

เชื่อว่ามีผู้ป่วยโรคไตหลายคนปรับตัวเรื่องการทานอาหารไม่ค่อยได้ โดยช่วงแรกแนะนำให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ควบคุมอาหาร ลดปริมาณเนื้อสัตว์ ปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง แม้ตอนแรกไม่สามารถทำได้ทุกมื้อ แต่ถ้าปฏิบัติตามเป็นประจำจนติดเป็นนิสัยก็ช่วยชะลอความเสื่อมของไตลงได้ นอกจากควบคุมอาหารแล้วผู้ป่วยโรคไต ควรงดเครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์ คาเฟอีน รวมถึงงดสูบบุหรี่ ทั้งหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น

โรคไตเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเอง เพราะเป็นอาการป่วยที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องไปฟอกไตทุกอาทิตย์ ถ้าไม่ได้เตรียมเงินค่ารักษาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ปัญหาที่ตามมาคือเงินค่ารักษาไม่พอ ด้วยเหตุนี้เองคนยุคใหม่จึงหันมาวางแผนการเงินเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองผ่านการทำประกันภัยสุขภาพ ตัวช่วยที่เข้ามาดูแลค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินที่ขาดหาย และลดความเสี่ยงจากภาระค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วยในอนาคต

สำหรับใครที่อยากกระจายความเสี่ยงในด้านสุขภาพ คุณสามารถเปรียบเทียบแผนประกัน และเลือกซื้อประกันภัยสุขภาพทางออนไลน์ที่เหมาะสมกับตัวเองได้แล้วผ่านฮักส์ หรือโทรปรึกษาฮักส์ได้ที่ 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลพระรามเก้า


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+