5 เทคนิคทำประกัน เพื่อคุ้มครองโรคเบาหวาน
เขียนเมื่อวันที่ 27/07/2021
เป็นเบาหวานทำประกันได้ไหม
โรคเบาหวาน เป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย เมื่อเป็นแล้วยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไตเสื่อม ไตวาย โรคหัวใจ จอประสาทตาเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคของระบบประสาท โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นเบาหวานล้วนมาจากอาหารที่เรากินในแต่ละวัน และไม่ได้จำกัดแค่อาหารที่มีรสหวานหรือน้ำตาลเป็นองค์ประกอบสำคัญ แม้แต่เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงที่มีไขมันมาก รวมถึงอาหารแปรรูป อย่าง ไส้กรอก เบคอน หรือแฮม ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคเบาหวานเช่นกัน เพราะไขมันอิ่มตัวในอาหารเหล่านี้จะเข้าไปยับยั้งอินซูลินให้ออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นถ้าไม่อยากเจ็บป่วยเป็นเบาหวานนอกจากลดความหวานลง ยังต้องเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับวัยของตนเอง ควบคู่กับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถห่างไกลจากโรคเบาหวาน และยังได้สุขภาพที่ดีตามมา
แต่ขึ้นชื่อว่าโรคร้ายต่อให้ระมัดระวังแค่ไหนก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ หลายคนจึงมองหาหลักประกันความเสี่ยง อย่าง ประกันภัยสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพและด้านการเงินในเวลาเดียวกัน ทำให้อุ่นใจว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เงินเก็บของคุณจะไม่หายไปในพริบตา สำหรับใครที่รู้ตัวว่าสุ่มเสี่ยงอาจเป็นโรคเบาหวานจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตามมาดูเทคนิคทำประกันภัย เพื่อรับความคุ้มครองโรคเบาหวานกัน
เคล็ดลับซื้อประกันสุขภาพให้ตรงใจ คุ้มครองครบทั้งเบาหวานและโรคร้าย
(1) พิจารณาแผนความคุ้มครองของประกันภัยสุขภาพ
ประกันภัยสุขภาพ คือ หลักประกันที่ช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากอาการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ (หากแผนประกันภัยที่เลือกคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุด้วย) ดังนั้นก่อนทำประกันภัยสุขภาพควรดูให้ดีว่า แผนความคุ้มครองที่เลือกให้ความคุ้มครองครบทั้งกรณีเป็นผู้ป่วย IPD และ OPD หรือไม่
- คุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) : จ่ายชดเชยให้กรณีได้เข้ารักษาแบบไม่ต้องนอนค้างโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจของแพทย์หรือค่ายา
- คุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยใน (IPD) : จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล ทั้งค่าห้องผ่าตัด, ค่าอาหาร, ค่ายา, ค่าแพทย์เยี่ยม, ค่าผ่าตัด, ค่ารถพยาบาล และอุปกรณ์อื่น ๆ
เข้ารักษาตัวตามความคุ้มครองในแผนประกันภัยสุขภาพที่ทำ
(2) วงเงินคุ้มครอง
แม้จะมีประกันภัยสุขภาพแต่ถ้าวงเงินคุ้มครองไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมด นั่นเท่ากับว่าส่วนต่างที่เกิดขึ้นคุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง อาทิ เลือกแผนประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท แต่ปรากฎว่าค่ารักษาทั้งหมดของคุณอยู่ที่ 130,500 บาท ส่วนต่างที่เกิดขึ้นจำนวน 30,500 บาท คุณต้องจ่ายเอง ฉะนั้นเพื่อไม่ให้การเงินของคุณสะดุด ควรเลือกซื้อประกันภัยสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองสูงสุดเท่าที่จ่ายค่าเบี้ยประกันไหว
(3) โรงพยาบาลในเครือ
การเลือกทำประกันภัยสุขภาพกับบริษัทประกันภัยที่มีโรงพยาบาลในเครือจำนวนมาก อย่างแผนประกันภัยสุขภาพ Viriyah Healthcare by BDMS ที่ผู้ทำประกันสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเครือข่าย BDMS ทั่วประเทศ ก็ถือเป็นตัวเลือกตัวที่น่าสนใจ และหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือที่อยู่ในจังหวัดนั้น ๆ ได้ทันที
(4) ค่าเบี้ยประกัน
สิ่งที่ตามมาหลังซื้อประกันภัยสุขภาพ ก็คือค่าเบี้ยประกันตามสัญญา โดยอัตราค่าเบี้ยประกันภัยสุขภาพไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามความเสี่ยงของอายุผู้ทำประกัน เนื่องจากแต่ละช่วงอายุมีความเสี่ยงโรคภัยไข้เจ็บไม่เท่ากัน นอกจากนี้ยังพิจารณาเรื่องเพศ สุขภาพ อาชีพ และการดำเนินชีวิตควบคู่อีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อค่าเบี้ยประกันทั้งสิ้น ฉะนั้นในการเลือกแผนประกันภัยสุขภาพลองคำนวณว่าค่าเบี้ยประกันที่คุณต้องจ่ายทุกเดือน/ปี ว่ากระทบค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่ เพราะการซื้อความอุ่นใจด้านสุขภาพไม่ควรกระทบการเงินในปัจจุบัน อย่างการซื้อประกันภัยสุขภาพแบบรับผิดส่วนแรก ซึ่งช่วยให้ลดค่าเบี้ยประกันลงไปได้ถึง 20%-50% อาทิ ประกันภัยสุขภาพเปี่ยมใจรักษ์ ของวิริยะประกันภัย หรือประกันภัยสุขภาพ เมืองไทย Health me เป็นต้น
ผู้ทำประกันภัยสุขภาพพบแพทย์โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
(5) พิจารณาความเสี่ยง
แผนประกันภัยสุขภาพของแต่ละบริษัทมีความคุ้มครองไม่เหมือนกัน บางแผนอาจจำกัดอายุผู้ทำประกันไม่เกิน 60 ปี และไม่คุ้มครองผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมอง เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณควรประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อนว่า มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคใดบ้าง ยิ่งถ้ามีคนในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรม ไม่ว่าจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน หรือโรคฮีโมฟีเลีย ควรรีบทำประกันภัยสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองโรคเหล่านี้ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกัน จะได้ไม่ต้องนั่งกังวลค่ารักษาพยาบาลในภายหลัง
นี่คือเคล็ด (ไม่) ลับที่ช่วยให้คุณสมัครประกันภัยสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองครบทั้งเบาหวานและโรคร้ายแรง โดยไม่ต้องกังวลว่ายามเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานในอนาคต แล้วต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาเองทั้งหมด แม้มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพหรือประกันภัยโรคร้ายแรงติดไว้ก็ไม่ควรละเลยการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้รู้ถึงสภาพร่างกายว่าเป็นปกติดีหรือไม่ ก่อนวางแผนดูแลสุขภาพต่อไป และใครที่ยังไม่มีประกันภัยสุขภาพ ฮักส์ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันภัยสุขภาพที่เหมาะกับคุณมากที่สุด พร้อมเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และเบี้ยประกันภัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2975 5855