ขนาดเตียงผู้ป่วยมาตรฐาน เหมาะสำหรับรักษาตัวที่บ้าน
เขียนเมื่อวันที่ 12/10/2021
เตียงผู้ป่วยปรับได้เลือกแบบไหนดี เหมาะกับคนไข้ที่บ้าน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเตียงเป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ ยิ่งผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ร่างกายไม่แข็งแรงหรือช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เต็ม 100% การนอนเตียงธรรมดาอาจไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากนัก แถมอาจเกิดอันตรายที่คาดไม่ถึง ดังนั้นหลายบ้านจึงเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยหรือที่เรียกกันว่าเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าหนึ่งในอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่บ้านได้ แต่ถึงอย่างนั้นการเลือกซื้อเตียงผู้ป่วยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีรูปแบบและชื่อเรียกย่อยออกไปตามระดับความต้องการในการใช้งาน และเพื่อให้ได้เตียงด้านการพยาบาลเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากที่สุด ตามมาดูทริคเลือกซื้อที่ Hugs Insurance นำมาบอกต่อกัน
มารู้จักเตียงผู้ป่วย ก่อนซื้อว่ามีกี่ประเภท
เตียงผู้ป่วยเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพราะสามารถปรับระดับของหัวเตียง ท้ายเตียง และปรับระดับความสูงต่ำของเตียงได้ เพื่อให้ง่ายต่อผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
เตียงผู้ป่วยแบบมือหมุน
เป็นเตียงคนไข้แบบธรรมดาที่สามารถปรับระดับได้ 3 จุด คือ หัวเตียง ท้ายเตียง และปรับระดับสูงต่ำได้ โดยใช้เพลาแบบมือหมุนในการควบคุมการปรับท่าต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น ปรับเป็นท่านั่งเพื่อกินข้าวได้อย่างสะดวก หรือตะแคงพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนได้ เป็นต้น
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
สำหรับเตียงผู้ป่วยไฟฟ้าใช้กลไกลการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วยปรับระดับของเตียง ไม่ว่าจะเป็นหัวเตียง ท้ายเตียง หรือปรับระดับความสูงต่ำ นอกจากไม่เปลืองแรงหมุนมือเอง ผู้ป่วยสามารถควบคุมการทำงานของเตียงได้เองโดยใช้รีโมทคอนโทรล
ก่อนเลือกซื้อเตียงผู้ป่วย ต้องดูอะไรบ้าง
(1) ระบบหรือฟังก์ชันที่ใช้ในการปรับเตียง
แม้ว่าเตียงผู้ป่วยมีความแตกต่างกันแค่เรื่องความสะดวกในการออกแรงปรับระดับ แต่สิ่งที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม คือ ระบบหรือฟังก์ชันปรับเตียงรูปแบบต่าง ๆ หรือที่เรียกกันว่าไกร์เตียง เพื่อให้สอดคล้องแก่การดูแลผู้ป่วย
- เตียง 1 ไกร์ : เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้ปกติ เพราะปรับพนักพิงหลังหรือไหล่ได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
- เตียง 2 ไกร์ : เพิ่มการปรับระดับเพื่อท่าชันเข่าเข้าไป ป้องกันผู้ป่วยไหลลงมาที่ปลายเตียง ทั้งยังช่วยลดอาการปวดหลังเมื่อผู้ป่วยต้องนั่งเป็นระยะเวลานาน
- เตียง 3 ไกร์ : เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขึ้นลงเตียงได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเพิ่มฟังก์ชันการปรับความสูงของเตียงเข้าไป จึงช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
- เตียง 4 ไกร์ : หากเป็นผู้ป่วยที่จะต้องใช้เวลาพักฟื้นอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรเลือกเตียง 4 ไกร์ เพราะถูกออกแบบให้สามารถปรับพนักพิงหลัง ท่าชันเข่า รวมถึงหรือความสูงต่ำของหัวเตียงได้
- เตียง 5 ไกร์ : ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นหลัก เนื่องจากปรับหลัง ปรับช่วงไหล่ ปรับซ้าย-ขวา ปรับท่าชันเข่า หรือความสูงต่ำของหัวเตียงและส่วนเท้าได้ นอกจากช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับได้ ยังง่ายต่อการพลิกตัวผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอีกด้วย
(2) น้ำหนักตัวของผู้ป่วย
เรื่องน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเป็นอีกปัจจัยที่ไม่ควรละเลย เพราะเตียงที่เลือกควรมีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักของผู้ป่วยได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น เตียงรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 150 กิโลกรัม ปรากฎว่า เมื่อนำน้ำหนักตัวผู้ป่วยมารวมกับเบาะนอนแล้วหนักถึง 180 กิโลกรัม หากใช้งานเป็นเวลานานบริเวณรอยต่อหรือจุดเชื่อมของเตียงมีโอกาสหักงอได้
เตียงผู้ป่วยที่ดีควรมีขนาดที่พอเหมาะและไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
(3) ขนาดเตียง
ขนาดเตียงผู้ป่วยโดยทั่วไป มีความยาวประมาณ 180 - 200 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่พอเหมาะและไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด ส่วนความกว้างของเตียงควรอยู่ที่ 90 เซนติเมตร รวมถึงความสูงของเตียงจากพื้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมีความสูงประมาณข้อพับเข่าของผู้ป่วย เพื่อให้วางเท้าถึงพื้นได้พอดี นอกจากนี้ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูกต้องไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
(4) อุปกรณ์เสริมและฟังก์ชันเพิ่มเติม
หากผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้งานเตียงเป็นเวลานาน แนะนำให้เลือกซื้อเตียงที่มีฟังก์ชันครบถ้วนเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น มีฟังก์ชันช่วยพลิกตัวได้สูงสุด 45 องศา ระบบล็อกล้อป้องกันเตียงไหล ฟังก์ชันการสระผม หรือสามารถปรับงอขาในลักษณะท่านั่งปล่อยขาหรือยกขาได้ 55 - 75 องศา เป็นต้น
แต่ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยจนถึงขั้นต้องใช้งานเตียงผู้ป่วยระหว่างนอนรักษาตัวที่บ้าน ฉะนั้นการเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ตรวจสุขภาพประจำปี ไปจนถึงการทำประกันภัยสุขภาพเพื่อคุ้มครองยามเจ็บป่วยในอนาคต ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ฮักส์มีแผนประกันภัยที่น่าสนใจให้เลือกมากมาย เช่น ประกันภัยสุขภาพ Owner Care ให้ความคุ้มครองทั้งการรักษา OPD และ IPD และชดเชยรายได้เมื่อต้องหยุดงาน ราคาเริ่มต้นเพียง 24 บาท/วัน แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี* หรือประกันภัยสุขภาพ Officer Care ที่พร้อมดูแลคุณทั้งค่ารักษาพยาบาลแบบ OPD และ IPD รวมถึงมอบเงินชดเชยรายได้กรณีที่ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่าย IPD ได้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855