ข้อควรปฏิบัติ วิธีดูแลผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน ระหว่างรอเตียง
เขียนเมื่อวันที่ 08/09/2021
วิธีดูแลผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ยังคงมียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเสียชีวิตเนื่องจากอาการรุนแรง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ใครหลายคนต่างเป็นกังวลไม่ใช่น้อย เพราะนอกจากกลัวว่าจะติดเชื้อแล้ว ณ เวลานี้ ด้วยสถานการณ์โควิดที่หนักขึ้น ส่งผลให้เตียงในโรงพยาบาลเต็มไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ทุกคน หากเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวสามารถรักษาที่บ้านแบบ Home Isolation ได้ เนื่องจากมีอาการไม่มาก แต่หากเป็นผู้ป่วยสีเหลือง หรือสีแดง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาการค่อนข้างหนัก ต้องรีบติดต่อขอคว่ามช่วยเหลือเพื่อทำการรักษาโดยด่วน
เช็คให้ชัวร์! อาการกลุ่มผู้ป่วยโควิดสีเขียว สีเหลือง และสีแดง
สถานการณ์โควิดในประเทศไทยยังคงรุนแรงและยากที่จะรับมือไหว อีกทั้งทุกคนล้วนมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ทุกเมื่อ แต่ระดับความรุนแรงจะต่างกัน โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยสีเขียว สีเหลือง และสีแดง ดังนี้
ผู้ป่วยโควิดสีเขียว : เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ รวมถึงมีอาการน้อย อาทิเช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น
ผู้ป่วยโควิดสีเหลือง : ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แต่จะรู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ทั้งนี้ทั้งนั้น มีความเสี่ยงอาการรุนแรงได้เช่นกันหากมีโรคประจำตัว อาทิ โรคปอดเรื้อรัง ไตเรื้อรัง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง ตับแข็ง รวมถึงน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม และมีอายุมากกว่า 60 ปี
ผู้ป่วยโควิดสีแดง : เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ปอดอักเสบรุนแรง อีกทั้งมีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% และค่าออกซิเจนลดลงมากกว่า 3%
อาการผู้ป่วยโควิดที่ต้องเฝ้าระวัง
สำหรับผู้ป่วยสีเขียวที่อาการไม่หนักสามารถรักษาที่บ้านแบบ Home Isolation ได้ในระหว่างรอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย
- อายุน้อยกว่า 60 ปี
- ไม่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
- อาศัยอยู่บ้านคนเดียวหรือมีผู้อื่นอาศัยอยู่ด้วยไม่เกิน 1 คน
- ไม่มีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและสมอง
เมื่อต้องรักษาตัวที่บ้านอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้เนื่องจากเตียงเต็ม สิ่งที่ผู้ป่วยและญาติไม่ควรละเลยคือการเตรียมของใช้จำเป็น และศึกษาขั้นตอนดูแลผู้ป่วยโควิดที่ถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่คนในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน
ของใช้จำเป็นสำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด
- ปรอทวัดไข้ของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องใช้แยกกัน
- แบบบันทึกอาการของผู้ป่วยและผู้ดูแล
- ถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดแบบใช้เท้าเหยียบเพื่อป้องกันเชื้อโรค
- หน้ากากอนามัยและกระดาษทิชชู่
ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโควิดรักษาตัวที่บ้าน
วิธีดูผู้ป่วยโควิดที่ถูกวิธีป้องกันการแพร่เชื่อ
ผู้ป่วยสีเขียวที่รักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง หากเจ็บป่วยฉุกเฉินควรโทรแจ้งขอความช่วยเหลือที่เบอร์ 1669 พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล รวมถึงส่งแบบฟอร์มรายงานติดตามอาการ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่จากทางโรงพยาบาลโทรมาเพื่อสอบถามอาการและให้คำแนะนำ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อในครอบครัวที่อาศัยอยู่ร่วมกัน คนดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านควรปฏิบัติตาม ดังนี้
- ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องสวมใส่หน้ากากอานามัยทุกครั้ง รวมถึงควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
- จัดหาอาหาร ยา และสิ่งของจำเป็นให้แก่ผู้ป่วย
- ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวควรแยกห้องนอนและห้องน้ำกับผู้ป่วย
- ผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็น จานชาม ช้อนส้อม ชุดเครื่องนอน หรือเสื้อผ้า
- ควรทำความสะอาดสิ่งของหลังจากที่ผู้ป่วยใช้เสร็จทุกครั้ง
- เปิดหน้าต่างในห้องผู้ป่วยเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- บันทึกอาการผู้ป่วยทุกวัน
- ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีต่อครั้ง หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 70-95%
- ผู้ดูแลควรใส่ถุงมือทุกครั้งก่อนสัมผัสตัวผู้ป่วย
- งดเยี่ยมในทุกกรณีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ
เพื่อป้องการติดเชื้อโควิด-19 สิ่งที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาดคือสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง รวมถึงหลีกเลี่ยงไปในที่ที่คนพลุกพล่าน และฉีดวัคซีนโควิดเพื่อลดความเสี่ยงรวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น โรคภัยมักมาเยือนแบบคาดไม่ถึงโดยเฉพาะเชื้อไวรัสโควิดภัยร้ายที่ยากจะรับมือไว้ อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นการทำประกันภัยโควิดจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเจ็บป่วยในอนาคตจะได้หมดกังวลเรื่องค่ารักษา อีกทั้งมีเงินชดเชยในกรณีที่นอนโรงพยาบาลอีกด้วย ฮักส์มีประกันภัยโควิดที่คุ้มครองได้อย่างครอบคลุม เบี้ยเริ่มต้นเพียง 300 บาท/ปี รวมถึงมีประกันภัยวัคซีนโควิด เบี้ยเริ่มต้นเพียง 70 บาท/ปี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855 ยินดีให้คำปรึกษาทุกเรื่องประกันภัยด้วยความเต็มใจ
อ้างอิงข้อมูล : chulabhornhospital, ram-hosp