ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า + ไฟเซอร์ รับมือสายพันธุ์เดลต้าได้
เขียนเมื่อวันที่ 01/12/2021
เช็คที่นี่ โควิดสายพันธุ์เดลต้า วัคซีนอะไรป้องกันได้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยและทั่วโลกต่างเร่งออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงเร่งพัฒนาวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค COVID-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้าหรือที่ก่อนหน้านี้เรียกว่าโควิดสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งปัจจุบันพบการแพร่กระจายเชื้ออยู่ในประเทศไทยทำให้ประชาชนต่างเกิดความกังวลใจว่าวัคซีนที่มีอยู่ในเวลานี้อาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการต่อต้านกับไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าว และเพื่อช่วยไขความกังวลของทุกคน HUGS Insurance จะพาไปไขข้อสงสัยว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนไฟเซอร์สามารถรับมือสายพันธุ์เดลต้าได้จริงหรือไม่ มาดูคำตอบกัน
โควิดสายพันธุ์เดลต้า คืออะไร แพร่เชื้อง่ายจริงไหม
โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617.2 โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดียก่อนแพร่กระจายไปนานาประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งยังต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษเนื่องจากโควิดสายพันธุ์เดลต้ามีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า นอกจากนี้มีการตรวจพบว่าเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ผู้ป่วยที่ติดโควิดสายพันธุ์นี้จะมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป
การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ต้องระวัง
โควิดสายพันธุ์เดลต้า มีอาการป่วยอย่างไร
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้ามีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่ทั้งนี้หากแยกพิจารณาอาการป่วยของผู้ที่เคยได้รับวัคซีนและไม่เคยรับวัคซีน มีอาการแตกต่างกันดังนี้
- ผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีน : เป็นไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอบ่อย และปวดศีรษะ
- ผู้ที่รับวัคซีน 1 โดส : เจ็บคอ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอบ่อย และจาม
- ผู้ที่รับวัคซีน 2 โดส : ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ จาม และสูญเสียการได้กลิ่น
ชวนรู้จักวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนไฟเซอร์
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า คืออะไร
ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
AstraZeneca เป็นวัคซีนแบบเทคนิคไวรัลแว็กเตอร์ (Viral Vector) ผลิตจากเชื้อไวรัสชิมแปนซีอะดีโน ใช้ไวรัสเป็นพาหะ พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
วัคซีนไฟเซอร์ คืออะไร
การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19
ไฟเซอร์เป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยวิธี mRNA ซึ่งเป็นการจำลองสารพันธุกรรมเลียนแบบเชื้อไวรัสขึ้นมา หลังจากฉีด Pfizer เข้าไปวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่คล้ายหนามของโคโรนาไวรัส โดยโปรตีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อไวรัส
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนไฟเซอร์ ป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้หรือไม่
สำหรับค่าประสิทธิภาพวัคซีนเป็นตัวบ่งบอกว่าเมื่อรับวัคซีนโควิด-19 แต่ละชนิด จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรค COVID-19 ตลอดจนช่วยลดโอกาสเสียชีวิตหรือป่วยหนักหากติดเชื้อ รวมถึงความสามารถในการป้องกันและลดความรุนแรงของโควิดที่เกิดการกลายพันธุ์
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
- กรณีฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียง 1 โดส มีประสิทธิภาพต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ 71%
- เมื่อฉีดวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 โดส มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล กรณีติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ถึง 92%
วัคซีนไฟเซอร์
- กรณีฉีดวัคซีน Pfizer เพียง 1 โดส กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าอยู่ที่ 94%
- เมื่อฉีดวัคซีน Pfizer ครบ 2 โดส มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล กรณีติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้มากถึง 96%
สรุปว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนไฟเซอร์ สามารถต้านเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ดีขึ้น เมื่อรับวัคซีน COVID-19 ครบ 2 โดส จะช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหนักและเสียชีวิต แต่อย่างไรก็ดีนักวิทยาศาสตร์ยังคงเร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าให้ดียิ่งขึ้น
แนะวิธีป้องกันตัวเองจากโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า
ไอเทมป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า รวมถึงสายพันธุ์อื่น ๆ คุณสามารถดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดให้ห่างไกล COVID-19 ที่ยังมีการแพร่ระบาดไม่หยุด โดยมีวิธีการดังนี้
(1) ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกนอกเคหะสถาน หรือแหล่งที่มีผู้คนเป็นจำนวนมาก
(2) หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่ ทั้งก่อนและหลังเอามือไปสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ
(3) งดการอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผู้ป่วยที่มีอาการไอและจาม
(4) งดการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการเสี่ยงของโรคระบาด
(5) หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด พร้อมรักษาระยะห่าง 1.5-2 เมตร
(6) หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก
(7) ปิดปากและจมูกเมื่อมีการจามหรือไอ
(8) หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อน แก้วน้ำ
(9) รีบไปฉีดวัคซีนโควิด-19 ทันทีที่มีโอกาส
(10) หากมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส และอื่น ๆ ควรรีบทำการทดสอบหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง และถ้ามีผลเป็นบวก (ติดเชื้อ) แนะนำให้เริ่มกักตัวเอง และติดต่อโรงพยาบาลทันที
แม้การฉีดวัคซีนไฟเซอร์หรือวัคซีนแอสตร้าล้วนอาจเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ทั้งอาการที่พบได้บ่อยและไม่รุนแรงอย่างมีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรือปวดกล้ามเนื้อ แต่ถ้ามีอาการแพ้วัคซีนรุนแรงถึงขั้นหายใจลำบากต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษา ดังนั้นควรทำประกันภัยแพ้วัคซีนโควิด เพื่อรับความคุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นผู้ป่วยในและเงินชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล โดยฮักส์มีผลิตภัณฑ์ประกันภัยโควิด-19 และประกันภัยวัคซีนโควิด ให้คุณเลือกทำประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของตนผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ Facebook หรือ LINE หรือโทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : Centers for Disease Control and Prevention (CDC), healthline.com