อย่าเพิ่งชะล่าใจ ระวังเจอผลลวงโควิด ตรวจครั้งแรกไม่เจอ
เขียนเมื่อวันที่ 02/11/2021
รู้ไว้ไม่เสียหาย ผลตรวจโควิดเป็นลบไม่ได้แปลว่าไม่ติดเชื้อเสมอไป
ประเด็นข่าวผลตรวจโควิดไม่ตรงกันยังเป็นที่น่าจับตามอง หลังเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ต้นสังกัดของนักร้องสาวอิ้งค์ วรันธร เปานิล เปิดเผยว่าตามมาตรการตรวจคัดกรองเพื่อเข้าร่วมงานต่าง ๆ ทำให้สาวอิ้งค์ วรันธร ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK (Antigen test kit) มาอย่างต่อเนื่องปรากฎว่า "ไม่พบเชื้อ" แต่ผลการตรวจในรูปแบบ RT-PCR (Polymerase chain reaction) ผลออกมาพบว่า “ติดเชื้อ” เพื่อเป็นการยืนยันให้แน่ชัด อิงค์ วรันธร จึงได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่โรงพยาบาลอีกครั้ง โดยผลออกมาแล้วว่า "ไม่พบเชื้อ" แต่อิ้งค์ วรันธร ยังคงขอกักตัวตามมาตรการ Home Isolation พร้อมตรวจ RT-PCR อีกครั้ง เพื่อความมั่นใจทั้งของตนเองและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งข่าวผลบวกปลอม ผลลบปลอมไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าวิธีตรวจโควิดทั้งแบบ Antigen test kit หรือทางน้ำลาย ผลครั้งแรกที่ออกมานั้นน่าเชื่อถือเพียงใด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลลวงโควิดมีอะไรบ้าง วันนี้ Hugs Insurance มีคำตอบมาฝาก
ผลบวกปลอม ผลลบปลอม มีสาเหตุมาจากอะไร
สำหรับการตรวจโควิด-19 ในปัจจุบันมีทั้งการตรวจด้วยตนเองแบบ Antigen Test Kit หรือการตรวจที่โรงพยาบาลแบบ Rapid Antigen Test และ RT-PCR โดยหากผลการตรวจออกมาเป็นบวก แน่นอนว่าต้องเข้าสู่ระบบการรักษาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเพื่อให้หายจากการติดเชื้อ และลดโอกาสในการกระจายเชื้อต่อผู้อื่น ขณะเดียวกันถ้าผลตรวจโควิดเป็นลบกรณีตรวจด้วยตนเอง จำเป็นต้องทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผล แต่ถึงอย่างนั้นยังมีโอกาสเกิดผลตรวจโควิดเป็นบวกปลอมและผลลบปลอม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผลการตรวจโควิด-19 ไม่ถูกต้อง มีดังนี้
ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง
สาเหตุผลบวกปลอม (False Positive)
(1) จากการปนเปื้อนจากพื้นที่ที่ทำการทดสอบลงบนอุปกรณ์ที่ใช้
(2) การติดเชื้อไวรัสหรือจุลชีพอื่น ๆ
(3) ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด
(4) สภาพสิ่งส่งตรวจไม่เหมาะสม
(5) ชุดตรวจ COVID-19 ไม่ได้มาตรฐาน
สาเหตุผลลบปลอม (False Negative)
(1) เพิ่งติดเชื้อในระยะแรก ร่างกายจึงยังมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ
(2) การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง
(3) ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด
นอกจากปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจเชื้อโควิด-19 คลาดเคลื่อนในข้างต้นแล้ว มีความเป็นไปได้ว่ากรณีที่บางคนตรวจวิธี RT-PCR ครั้งแรกเป็นบวก แต่เมื่อตรวจครั้งถัดไปเป็นลบ อาจมาจากช่วงที่ตรวจหาเชื้อ COVID-19 ครั้งแรกเป็นระยะท้ายของการติดเชื้อ พอทำการตรวจซ้ำอีกครั้งผลจึงออกมาเป็นลบ
ผลลวงโควิด เกิดขึ้นกับชุดตรวจโควิดแบบไหนบ้าง
สำหรับผลบวกปลอม ผลลบปลอมที่พบนั้นไม่ได้เกิดจากคุณภาพของตัวชุดตรวจโควิด-19 ไม่ได้มาตรฐาน แต่เป็นเพราะข้อจำกัดของเครื่องมือ ทำให้มีโอกาสเกิดผลลวงโควิดได้กับการใช้งานชุดตรวจ COVID-19 ทุกยี่ห้อ โดยมีสาเหตุดังนี้
(1) เกิดจากการตรวจหาเชื้อ COVID-19 เร็วเกินไป เช่น ได้รับเชื้อไวรัสมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2564 หลังจากนั้น 1-2 วันมาตรวจหาเชื้อ ช่วงเวลาดังกล่าวเชื้อยังไม่ทันเพิ่มจำนวน ทำให้ได้ผลตรวจเป็นลบ
(2) แม้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในร่างกายมีปริมาณไม่มาก แต่มีโอกาสตรวจพบซากเชื้อหรือซากสารพันธุกรรมของไวรัส ดังนั้นผลตรวจโควิดที่ออกมาจึงมีความคลาดเคลื่อน จากผลลบกลายเป็นผลบวกแทน
ในสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้ว การป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ COVID-19 รวมถึงพิจารณาทำประกันภัยโควิดที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหากติดเชื้อขึ้นมา เช่น ทูนประกันภัย Vsafe Extra (แผน 1) ที่มอบเงินก้อนให้ผู้ทำประกันภัยเมื่อตรวจพบ 5,000 บาท พร้อมพ่วงค่ารักษากรณีแพ้วัคซีนโควิดอีกสูงสุด 30,000 บาท/ครั้ง* เพียงจ่ายเบี้ยประกันภัย 799 บาท/ปี นี่ถือเป็นผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ผู้ที่มองหาความคุ้มครอง ทั้งเรื่องโรคและวัคซีนโควิด สามารถสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนประกันภัยโควิดอื่น ๆ ได้ที่ฮักส์ผ่านทาง Facebook Line หรือเบอร์ 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย