เปิดเงื่อนไขเงินชดเชยจังหวัดสีแดงเข้ม พร้อมเยียวยาโควิด
เขียนเมื่อวันที่ 19/10/2021
มาตรการเยียวยาพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด
จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน พร้อมนโยบายการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแบบกลุ่ม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายจังหวัดยังคงเผชิญกับปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อและอัตราผู้เสียชีวิต ทำให้มีการแบ่งพื้นที่มาตรการการควบคุมการระบาดของโควิด โดยแบ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม), พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) และพื้นที่ควบคุม (สีส้ม)
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม)
รวมพื้นที่สีแดงเข้มโควิดมีทั้งหมด 29 จังหวัด ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
- สงขลา
- พระนครศรีอยุธยา
- ชลบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- กาญจนบุรี
- ตาก
- นครนายก
- นครราชสีมา
- ประจวบคีรีขันธ์
- ปราจีนบุรี
- สิงห์บุรี
- สระบุรี
- สุพรรณบุรี
- อ่างทอง
- สมุทรสงคราม
- เพชรบุรี
- เพชรบูณ์
- ระยอง
- ราชบุรี
- ลพบุรี
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่าง ๆ มากมายต่อประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว อัตราการตกงานหรือเลิกจ้าง การขาดรายได้ของประชาชนทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดเตรียมมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้ง 29 จังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้มที่มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อสูง และมีการระบาดของเชื้อที่หนักว่าพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องกักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานในรูปแบบ Work From Home อีกหนึ่งมาตรการช่วยเหลือคือเงินเยียวยาพื้นที่สีแดงเข้มจากประกันสังคม โดยจ่ายให้แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม และเป็นผู้ประกันตนตามมาตร 33, มาตรา 39 และ มาตรา 40 ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกเข้ากับบัตรประชาชน
เงินชดเชยโควิดจังหวัดสีแดงเข้ม
มาตรการเยียวยาประกันสังคมมาตรา 33
เงินเยียวยาประกันสังคมลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา (ก่อนมีการปรับเพิ่มพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้มเป็น 29 จังหวัด) ใน 9 กลุ่มกิจการ จะได้รับเงินเยียวยา 2,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2564 และรอบ 2 ในวันที่ 27 กันยายน 2564 เป็นต้นไป นอกจากนี้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ยังได้รับเงินเยียวยาในกรณีเงินชดเชย 50% ของค่าจ้างจากการประกาศมาตรการล็อกดาวน์กิจการประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ สูงสุด 7,500 บาท เนื่องจากคำสั่งปิดสถานที่และมาตรการล็อกดาวน์ เป็นการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ประกันตน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันแต่ไม่เกิน 90 วัน โดยมีคุณสมบัติของผู้ประกันตนที่ได้รับเงินกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ดังนี้
- เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ใน 15 เดือนย้อนหลัง ก่อนวันที่ว่างงานจากกรณีที่รัฐสั่งปิด
- ไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากมีคำสั่งให้ปิดสถานที่หรือสถานประกอบการโดยภาครัฐ
นายจ้างต้องยื่นเป็นผู้ดำเนินการขอรับสิทธิประโยชน์ชดเชยให้ลูกจ้าง ตามขั้นตอนที่กำหนด
มาตรการเยียวยาประกันสังคมมาตรา 39
ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่มีการประกาศล็อคดาวน์ 2 เดือน จะได้รับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ คนละ 5,000 บาท จำนวน 2 ครั้งช่วงวันที่ 20-30 กันยายน 2564
มาตรการเยียวยาประกันสังคมมาตรา 40
ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่มีการประกาศล็อคดาวน์ 2 เดือน จะได้รับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ คนละ 5,000 บาท จำนวน 2 ครั้งช่วงวันที่ 20-30 กันยายน 2564 นอกจากนี้ทางสำนักงานประกันสังคมได้โอนเงินให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และอยุธยา กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนและจ่ายเงินสมทบเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ระหว่างวันที่ 4 – 24 ส.ค.64 ซึ่งจะได้รับเยียวยา 2 รอบ รอบละ 5,000 บาท รวมเป็นวงเงิน 10,000 บาท โดยโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชนซึ่งจะโอนเป็นเงินก้อนเพียงครั้งเดียว
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นนี้แม้จะมีมาตรการเยียวยาเงินชดเชยรายได้โควิดในส่วนต่าง ๆ ก็อย่าพึ่งนิ่งนอนใจ อีกสิ่งสำคัญในสถานการณ์เช่นนี้คือการเลือกทำประกันภัยโควิดที่คุ้มครองครอบคลุมไปจนถึงกรณีชดเชยรายได้ระหว่างการพักรักษาตัวจากการติดเชื้อ หรือการเลือกทำประกันภัยสุขภาพที่นอกจากคุ้มครองครอบคลุมหากติดเชื้อโควิดแล้ว ยังคุ้มครองในส่วนของเงินชดเชยรายได้กรณีเข้ารับการักษาตัวที่โรงพยาบาล ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยหลากหลายยินดีให้คำแนะนำการเลือกทำประกันภัยที่ตอบโจทย์ความคุ้มครองในแบบที่คุณต้องการ สามารถเลือกซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, bangkokbiznews