loading
ค่าชดเชยรายได้คือ มนุษย์เงินเดือนไม่ควรละเลย

ค่าชดเชยรายได้คือ มนุษย์เงินเดือนไม่ควรละเลย

เขียนเมื่อวันที่ 16/09/2021

รู้จักสิทธิ์ตัวเอง ค่าชดเชยรายได้ในวันที่ป่วยติดต่อกันนาน ๆ

การทำงานจะมีเงินเป็นค่าตอบแทน ทั้งแบบรายวันและรายเดือนตามแต่บริษัทกำหนด นอกเหนือจากเงินเดือนแล้วยังมีสวัสดิการต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ของพนักงานที่อยู่ในบริษัท แต่หากเกิดกรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องลาป่วย ลาหยุด หรือลาออก ที่ส่งผลต่อการรับเงินตอบแทน การรู้สิทธิของตัวเองจะช่วยให้การวางแผนเรื่องการเงินชัดเจนยิ่งขึ้น

สาเหตุของการขอชดเชยรายได้

การชดเชยรายได้ คือ การที่บุคคลต้องสูญเสียรายได้ที่เคยได้รับไปเนื่องจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แล้วจึงมีการมอบเงินหรือการเยียวยาเพื่อชดเชยรายได้ที่เสียไป ซึ่งการชดเชยรายได้นี้ขึ้นอยู่กับสวัสดิการที่บุคคลได้รับ สาเหตุของการขอชดเชยรายได้มักเกิดจากสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • ประสบอุบัติเหตุหนัก

การเกิดอุบัติหนักส่งผลต่อร่างกายหลายส่วน ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว บางคนมีความเสี่ยงจะทุพพลภาพ ระยะเวลาในการรักษาช่วงเกิดอุบัติเหตุนี้  บางครั้งกินเวลานานจนต้องลาหยุดแบบไม่รับเงินเดือน ทำให้ต้องขอเงินชดเชยรายได้แทน

  • การเจ็บป่วยเรื้อรัง

โดยปกติแล้วบริษัทจะมีนโยบายให้พนักงานสามารถขอลาป่วยแบบมีเงินเดือนได้สูงสุด 30 วัน แต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดเพื่อรักษาตัวต่อในช่วงถัดจาก 30 วันนั้น การขอเงินชดเชยรายได้จึงเข้ามามีบทบาทเพื่อช่วยจุนเจือค่าใช้จ่าย

  • การกักตัวในช่วงโควิด

สถานการณ์การระบาดของโควิดยังคงน่าเป็นห่วง จนกว่าจะมีการฉีดวัคซีนโควิดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ การหยุดเพื่อกักตัวทำให้หลายคนสูญเสียรายได้ไป เงินชดเชยรายได้จึงรวมการชดเชยในกรณีกักตัว เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงหรือติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นมา

  • การออกจากงาน 

องค์กรหลายแห่งจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายลงในช่วงโควิด บางแห่งปิดตัวลง บางส่วนจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง ทำให้มีลูกจ้างว่างงานตามมา สิ่งเหล่านี้ทำให้รายได้ของพนักงานหายไป การขอชดเชยรายได้จึงเป็นการเยียวยาที่ช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายในช่วงว่างงานได้บ้าง

การชดเชยรายได้ในช่วงโควิด-19

หมอบันทึกอาการคนไข้

การขอชดเชยรายได้เมื่อรักษาตัวในโรงพยาบาล

ช่วงโควิดเป็นช่วงที่หลายคนประสบปัญหาขาดแคลนรายได้ มนุษย์เงินเดือนจึงควรรู้ช่องทางในการรับเงินชดเชยรายได้ สามารถแบ่งความช่วยเหลือเกี่ยวกับการชดเชยรายได้ออกเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้

การเยียวยาจากรัฐบาล

การชดเชยรายได้ประเภทแรกเป็นเงินเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งจะมีการจัดแบ่งผู้รับเงินเยียวยาออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ในช่วงที่ผ่านมามีการให้เงินเยียวยาสำหรับผู้ประกอบการ และลูกจ้างในภาคบริการที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 9 กลุ่ม ได้แก่ ที่พักและร้านอาหาร การขนส่งสินค้า การขายส่งและการขายปลีก การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม กิจกรรมทางวิชาการ สื่อที่ให้ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร การก่อสร้าง กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ และศิลปะความบันเทิงต่าง ๆ โดยเงินเยียวยาจากรัฐมักจะมาเป็นก้อน หรือแบ่งจ่ายไม่กี่งวดเพื่อชดเชยรายได้ที่เสียไปในช่วงโควิด เน้นจำนวนเงินไม่มากแต่เยียวยาได้หลายคน เงินชดเชยรายได้จากรัฐจะไม่ได้รับประจำทุกเดือน จึงเหมาะกับการเป็นเงินสำรองฉุกเฉินมากกว่า

ประกันสังคม

เงินชดเชยที่ได้รับจากประกันสังคมเป็นช่องทางการชดเชยรายได้ที่มนุษย์เงินเดือนต้องไม่พลาด เพราะประกันสังคมจัดเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของแต่ละบริษัท มีทั้งชดเชยรายได้จากอาการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ดังนี้

  • ชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย

การรักษาตัวในโรงพยาบาลประกันสังคมนอกจากจะช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังช่วยเรื่องเงินชดเชยรายได้ในกรณีที่ต้องพักรักษาตัวนานเกิน 30 วันด้วย แต่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่กักตัวอยู่บ้านหรือ Home Isolation สามารถรับสิทธิ์ชดเชยรายได้จากประกันสังคมได้เหมือนกับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด

  • ชดเชยรายได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

การประสบอุบัติเหตุสามารถรับสิทธิจากประกันสังคมได้ รวมถึงสิทธิชดเชยรายได้ด้วย โดยจะระบุให้ผู้ประกันตนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ระบุไว้ในประกันสังคมเท่านั้น หากรักษาตัวในโรงพยาบาลอื่นจะต้องสำรองจ่ายไปก่อนแล้วมาเบิกกับประกันสังคมทีหลัง ซึ่งอาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ประกันตนบางคน ทำให้มีการซื้อประกันภัยอุบัติเหตุเพิ่มเติมด้วย

 
  • ชดเชยเมื่อออกจากงาน

ประกันสังคมมีเงินชดเชยในกรณีที่ตกงาน ทั้งจากการโดนไล่ออกและลาออกเอง โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเรื่องให้ประกันสังคมภายใน 6 เดือนหลังจากออกจากงาน และประกันสังคมจะส่งเงินชดเชยให้ ผู้ที่ลาออกเองจะได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน คิดจากเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท และผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินเดือน 50% ของเงินเดือน คิดตามเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท

ประกันภัยต่าง ๆ

การทำประกันภัยต่าง ๆ ไม่ว่าประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยอุบัติเหตุ หรือประกันภัยพิเศษที่มีการจ่ายเงินค่าชดเชยรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาลจะแบ่งเบาภาระเมื่อมีเหตุให้ไปทำงานไม่ได้ การเลือกทำประกันภัยจะขึ้นอยู่กับผู้เอาประกันภัยเป็นหลัก ควรเลือกแผนประกันภัยที่ตนเองสนใจ ปรึกษาโบรกเกอร์ประกันที่ไว้ใจได้ เพื่อให้ได้ประกันภัยที่ตรงใจที่สุด ตัวอย่างประกันภัยชดเชยรายได้ที่น่าสนใจ เช่น ประกันภัยสุขภาพ Owner Care ให้ความคุ้มครองทั้งการรักษา OPD และ IPD และชดเชยรายได้เมื่อต้องหยุดงาน ราคาเบี้ยเพียงเดือนละ 735 บาท/วัน แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 1 ล้านบาท/ปี* 

ฮักส์เป็นโบรกเกอร์ประกันภัยที่เชื่อถือได้ สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับประกันภัยได้เป็นอย่างดี ผู้ที่กำลังมองหาประกันภัยที่สามารถชดเชยรายได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา สามารถปรึกษาฮักส์ได้ ทั้งทาง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855

 

#HUGS

#LifeALife LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันภัยโควิด

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+