อาการออกซิเจนในเลือดต่ำ ภัยร้ายยุคโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม
เขียนเมื่อวันที่ 14/09/2021
ปริมาณออกซิเจนในเลือดเท่าไหร่ ถึงเป็นอันตรายในยุคโควิด
จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันสังเกตได้ว่าผู้ป่วยโควิดส่วนใหญ่ มักมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและปอด อาทิ เหนื่อยหอบ หายใจไม่ทัน ไปจนถึงปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการอาการรุนแรงยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ป่วยโควิดหลายคนมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ กว่าร่างกายจะแสดงอาการออกมา มักจะเกิดการเจ็บป่วยรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
ค่าออกซิเจนในเลือด สำหรับร่างกายมนุษย์
ภายในเลือดของมนุษย์จะมีออกซิเจนที่มาจากระบบการทำงานของร่างกาย โดยหายใจนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดและปล่อยคาร์บอนไดออกไซน์ออกมา ซึ่งร่างกายมนุษย์ต้องการปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ ต่อทุกการทำงานของระบบร่างกายและอวัยวะ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
ภาวะพร่องออกซิเจน หรือ ออกซิเจนในเลือดต่ำ คืออะไร
ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน หรือมีปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ต่ำกว่าระดับปกติ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอสำหรับการทำงาน รวมถึงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และแสดงอาการผิดปกติออกมา เช่น การหายใจผิดปกติ แน่นหน้าอก มีเหงื่อออกจำนวนมาก ผิวซีดเซียว เป็นต้น
ออกซิเจนในเลือดต่ำ อันตรายไหม
สำหรับร่างกายเมื่อมีปริมาณออกซิเจนต่ำหรือเข้าสู่ภาวะพร่องออกซิเจน โดยปกติร่างกายมนุษย์จะพยายามทำการปรับสมดุลของร่างกาย และรักษาระดับออกซิเจนให้อยู่ในระดับปกติ จะมีอาการดังนี้
- หายใจเร็วแรงและถี่ขึ้นกว่าปกติ
- วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว
- หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งหัวใจทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เพียงพอ
- เนื่องจากหัวใจทำการสูบฉีดมากยิ่งขึ้น อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้
- มีอาการว้าวุ่น สับสน กระสับกระส่าย
- สีผิวดูซีด ริมฝีปากดูเขียวคล้ำ
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ผู้ที่มีภาวะโรคโลหิตจางอาจทำให้ความดันเลือดลดลง
หากร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลออกซิเจนให้เป็นปกติได้ จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายทำงานผิดปกติ และระบบการทำงานของร่างกายล้มเหลว อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
ภาวะพร่องออกซิเจนกับผู้ป่วยโควิด
ภาวะพร่องออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยโควิด (Happy Hypoxemia) ภัยเงียบอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม จะเห็นได้จากผู้ป่วยโควิด-19 บางรายไม่มีการแสดงอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยแต่กลับเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน สืบเนื่องมาจากเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโควิดและเชื้อลงปอดแล้ว ถึงแม้ร่างกายจะไม่แสดงอาการภายนอก แต่การทำงานของปอดจะผิดปกติ เพราะปอดทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลง ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดก็ต่ำลงเช่นกัน ส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนหรือออกซิเจนในเลือดต่ำ เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤติจากความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดที่ต่ำลงและระบบการหายใจของปอด ส่งผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีอาการปอดบวม โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวอาจรุนแรงจนถึงขั้น
ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ
ระดับออกซิเจนในเลือดปกติยุคโควิดควรอยู่ที่เท่าไหร่
ระดับออกซิเจนในเลือดสำหรับบุคคลทั่วไปควรอยู่ที่ 95% ขึ้นไป จึงถือว่าร่างกายทำงานปกติ และหากระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ระหว่าง 90-94% แสดงว่าร่างกายเริ่มมีอาการผิดปกติ และหากมีระดับออกซิเจนในเลือด ต่ำกว่า 90% ควรทำการพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย
ปัจจุบันการตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือดสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว ควรใช้เครื่องวัดที่ได้มาตรฐาน อ่านผลได้แม่นยำ ซึ่งในปัจจุบันใช้สำหรับตรวจวัดระดับออกซิเจนผู้ป่วยโควิด-19
- วัดระดับออกซิเจนในเลือดด้วยการเจาะเลือด วิธีนี้ต้องทำการตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น เพราะเป็นการเจาะเลือดบริเวณเส้นเลือดแดงใหญ่
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 หากตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด และพบค่าออกซิเจนน้อยว่า 95% หรือมีค่าลดลง 3% ขึ้นไป ในระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมปกติ ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจเกิดจากปอดอักเสบหรือเชื้อลงปอด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาและให้ออกซิเจน นอกจากการตรวจวัดระดับค่าออกซิเจนในเลือดให้มีระดับปกติแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้สถาการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องคือการดูแลตัวเองด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง และที่สำคัญคือการเลือกทำประกันภัยโควิดให้ครอบคลุม ซึ่งในปัจจุบันมีตัวเลือกกรมธรรม์ประกันภัยที่หลากหลาย ทั้งความคุ้มครองจ่ายเงินก้อนเมื่อตรวจพบเชื้อ ค่ารักษาพยาบาลจากการป่วยโควิด หรือ ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่มีอาการโคม่า ความคุ้มครองชดเชยรายได้จากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถปรึกษาฮักส์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคุณผ่านช่องทาง Facebook Line และโทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรมสุขภาพจิต, thairath