อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีน mRNA รักษาได้
เขียนเมื่อวันที่ 02/11/2021
รู้จักภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการหลังฉีดวัคซีน mRNA
ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สิ่งจำเป็น ณ ขณะนี้คือวัคซีน ซึ่งมีวัคซีนหลายชนิดที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก ให้สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากวิธีการผลิตหรือรูปแบบการทดลอง สำหรับวัคซีนที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดคือ ชนิด mRNA เนื่องจากเป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง และสามารถป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ซึ่งมี 2 บริษัทคือ วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) และวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ถึงแม้จะเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงก็มีผลข้างเคียงโดยส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง แต่ในผู้ได้รับวัคซีนบางรายอาจพบอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน อย่างภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งจะรุนแรงหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร สามารถรักษาหายไหมฮักส์รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกัน
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ การเกิดภาวะอักเสบของผนังหัวใจชั้นกลาง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ซึ่งหัวใจของมนุษย์จะประกอบไปด้วย 4 ห้อง และมีผนังหัวใจ 3 ชั้น คือผนังชั้นในที่ประกอบไปด้วยเยื่อบุหัวใจและลิ้นหัวใจ ผนังชั้นกลางคือกล้ามเนื้อหัวใจ และผนังชั้นนอกเป็นเยื่อหุ้มหัวใจ หากเกิดการอักเสบที่บริเวณชั้นนอกจะถูกเรียกว่าเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนในแต่ละชนิดจะพบอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ ถือเป็นอาการปกติ แต่การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังได้รับวัคซีน mRNA จากผลวิจัยพบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ทางด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) รายงานว่ามีเพียง 300 กว่ารายเท่านั้นที่เกิดผลข้างเคียงเช่นนี้ ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และช่วงอายุที่พบได้มากที่สุดอยู่ที่ 12-17 ปี โดยความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้จะลดลงเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น
อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนชนิด mRNA
หลังได้รับวัคซีนหากเกิดอาการเช่นนี้อาจมีความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ภายใน 7-30 วันหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ดังนี้
- มีอาการเจ็บหรือแน่นบริเวณหน้าอก
- หายใจหอบหรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ
- มีอาการเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย
- มีอาการใจสั่น
ผู้ที่มีอาการเหล่านี้จะมีคลื่นหัวใจที่ผิดปกติ มีระดับเอนไซม์ของหัวใจเพิ่มขึ้นแต่สามารถทำการตรวจได้ด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ หลังฉีดวัคซีน mRNA COVID-19 (Pfizer-BioNTech หรือ Moderna) โดยเฉพาะในวัยรุ่นทั้งชายและหญิง โดยปกติภายในไม่กี่วันหลังการฉีดวัคซีนผู้ป่วยจะแสดงอาการ และสำหรับผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน และเมื่อมีอาการหากได้รับการดูแลรักษาและพักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วและสามารถกลับไปทำกิจกรรมประจำวันตามปกติ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน
นอกจากนี้ทาง CDC ยังคงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หากติดเชื้อ เช่น ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแม้กระทั่งการเสียชีวิตมีความเสี่ยงที่เกิดได้มากกว่าอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน รวมถึงมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่าเนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก
สำหรับใครที่มีความกังวลในกรณีการเข้ารับวัคซีนชนิด mRNA ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิด Pfizer หรือ Moderna สามารถเลือกความคุ้มครองให้แก่ตัวเองได้เพราะอาการแพ้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ควรเตรียมความพร้อมในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการเลือกทำประกันภัยวัคซีนโควิดที่ Hugs Insurance กับค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นที่หลักสิบพร้อมมอบความคุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยในกรณีแพ้วัคซีนโควิด หรือ กรณีโคม่าจากการแพ้วัคซีนโควิด ครอบคลุมกรณีเงินชดเชยหากต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ฮักส์มีกรมธรรม์ประกันภัยหลากหลายทั้งประกันภัยโควิดและประกันภัยวัคซีนโควิด ยินดีให้คำแนะนำการเลือกซื้อประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : cdc., thestandard, vichaivej-nongkhaem