วัคซีนโควิดเข็ม 3 ฉีดได้เมื่อไหร่ จำเป็นไหม
เขียนเมื่อวันที่ 05/10/2021
วัคซีนโควิดเข็ม 3 จำเป็นไหม ใครฉีดได้บ้าง
วัคซีนโควิด-19 ถือเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน เนื่องจากวัคซีนต้านโควิดสามารถลดอัตราการแพร่ระบาด การต้านเชื้อกลายพันธุ์ ช่วยลดความรุนแรงของอาการและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต เป็นตัวยาสำคัญที่ช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งได้มีการเริ่มกระจายฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทั่วไปแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ณ ขณะนี้มีวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้
- วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)
- วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
- วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
- วัคซีนซิโนแวค (Sinovac)
สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย เริ่มมีการให้ฉีดตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวนวัคซีนที่แจกจ่าย 44.7 ล้าน มีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว 15.1 ล้าน และเปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 โดสแล้วเป็นจำนวน 22.7% (ข้อมูลวันที่ 20 กันยายน 2564) จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร มีประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 377,1946 โดส และเข็มที่ 2 จำนวน 944,831 โดส
- จังหวัดภูเก็ต มีประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 401,808 โดส และเข็มที่ 2 จำนวน 320,206 โดส
- จังหวัดสมุทรปราการ มีประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 519749 โดส และเข็มที่ 2 จำนวน 95,437 โดส
- จังหวัดนนทบุรี ประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 437,912 โดส และเข็มที่ 2 จำนวน 156,721 โดส
- จังหวัดชลบุรี ประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 321,245 โดส และเข็มที่ 2 จำนวน 112,624 โดส
การฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อในประเทศไทย
เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของสายพันธุ์เดลตาที่มีการระบาดในปัจจุบัน ส่งผลให้สามารถรับเชื้อได้ง่ายและแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าเชื้อชนิดอื่น โดยในขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขไทยได้มีข้อกำหนดการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ในสูตรการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อจำนวน 2 เข็ม ซึ่งมีการกำหนดชนิดวัคซีนและระยะเวลาการฉีดระหว่างเข็มตามเอกสารกำกับยา โดยกำหนดให้สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 ด้วยวัคซีน Sinovac และเข็มที่ 2 ด้วยวัคซีน AstraZeneca โดยมีระยะห่าง 3 – 4 สัปดาห์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม
การฉีดวัคซีนในปัจจุบัน มี 4 รูปแบบ ดังนี้
แบบที่ 1
การฉีดวัคซีน AstraZeneca + AstraZeneca ระยะห่าง 4-12 สัปดาห์
แบบที่ 2
การฉีดวัคซีน Sinovac + AstraZeneca หรือ Pfizer ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์
แบบที่ 3
การฉีดวัคซีน Pfizer + Pfizer ระยะห่าง 3 สัปดาห์
แบบที่ 4
การฉีดวัคซีน Moderna + Moderna ระยะห่าง 4 สัปดาห์
ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 3
ฉีดวัคซีนโควิดชนิดไหนควรบูสเข็ม 3
การฉีดวัคซีนในประเทศไทยมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่เนื่องจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนบางชนิดไม่สามารถป้องกันความรุนแรงของเชื้อได้ การฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็นบูสเตอร์โดสตามจำนวนครั้งในระยะเวลาที่เหมาะสม ควรเป็นวัคซีนชนิด mRNA โดยมีคำแนะนำการรับวัคซีนสำหรับกระตุ้นเข็ม 3 ดังนี้
- วัคซีน Sinovac + AstraZeneca ฉีดเข็ม 3 (Moderna หรือ Pfizer) เว้นจากเข็มที่ 2 ระยะเวลา 3 เดือน
- วัคซีน Sinovac + Sinovac ฉีดเข็ม 3 (Moderna หรือ Pfizer) เว้นจากเข็มที่ 2 ระยะเวลา 3-6 เดือน หากเกิน 6 เดือนให้ฉีดกระตุ้น 2 เข็ม
- วัคซีน Sinopharm + Sinopharm ฉีดเข็ม 3 (Moderna หรือ Pfizer) เว้นจากเข็มที่ 2 ระยะเวลา 3-6 เดือน หากเกิน 6 เดือนให้ฉีดกระตุ้น 2 เข็ม
- วัคซีน AstraZeneca + AstraZeneca ไม่ต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 3
- วัคซีน Pfize + Pfize ไม่ต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 3
สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการเปิดเผยว่าประชาชนกลุ่มนี้จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิดบูสเตอร์โดสเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ คาดว่าจะสามารถฉีดบูสเตอร์โดสให้ประชาชนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับปริมาณวัคซีนที่ส่งเข้ามาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในประเทศไทย ที่มีความรุนแรงและจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนควรได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง และไม่ควรละเลยความสำคัญของสุขภาพรวมถึงร่างกายจากการได้รับวัคซีนด้วยการเลือกทำประกันภัยวัคซีนโควิด-19 หรือ ประกันภัยโควิดที่ได้รับความคุ้มครองครอบคลุมทั้งอาการแพ้หลังได้รับวัคซีน หรือการรักษาตัวจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ค่ารักษาพยาบาลโควิด รวมถึงเงินชดเชยรายได้ Hugs Insurance มีกรมธรรม์ประกันภัยวัคซีนและประกันภัยโควิดหลากหลายที่ตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถเลือกซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : กรมควบคุมโรค, news.google/covid19, prachachat, vichaivej