ประโยชน์การดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ ผิวสวย ขับถ่ายดี
เขียนเมื่อวันที่ 28/09/2021
ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร ถึงจะดีต่อร่างกาย
รู้ไหมว่า ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึงร้อยละ 60-70 ไม่ว่าจะเป็นภายในเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ กระบวนการทำงานของร่างกาย หรือเลือดล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ถึงอย่างนั้นร่างกายของเราไม่สามารถสะสมน้ำไว้ได้ดังนั้นเพื่อรักษาสมดุลการดื่มน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตมาก เพื่อให้ร่างกายมีน้ำอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน และวันนี้ Hugs Insurance พาไปดูกันว่า ดื่มน้ำน้อยเกินไปทำสุขภาพพังจริงหรือ แล้วควรดื่มน้ำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
น้ำสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
น้ำทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นไปได้อย่างปกติ ดังนี้
(1) เป็นตัวกลางในการก่อปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในร่างกาย เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร และนำพาสารอาหารที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย
(2) ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ หากร่างกายมีอุณหภูมิสูงจะระเหยน้ำออกทางผิวหนังและปอด เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
(3) ทำหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์
(4) ช่วยกำจัดของเสียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ เหงื่อ และลมหายใจ
(5) ช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายที่ตกค้างในไต เช่น ยูเรีย แอมโมเนีย กรดยูริก และสารพิษที่ร่างกายได้รับ
(6) น้ำช่วยบำรุงรักษาและหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ตา ไขสันหลัง ข้อต่อ และน้ำในถุงน้ำคร่ำ
(7) ช่วยให้โปรตีนและเอนไซม์ในร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่
(8) ช่วยรักษาปริมาณและระดับความเข้มข้นของของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด น้ำเหลือง เป็นต้น
(9) ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผนังอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย
ควรดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว ดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่
เชื่อว่าหลายคนคุ้นหูกับประโยคที่ว่า ควรดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน หรือวันละ 2 ลิตร เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไป แต่ความจริงแล้วปริมาณน้ำที่ควรได้รับต่อวันของทุกคนไม่เท่ากัน เพราะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นควบคู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพศ วัย สภาพร่างกาย อาชีพ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน เช่น หากคุณทำงานกลางแจ้งเป็นหลักหรือชอบออกกำลังกายหนัก ๆ ร่างกายย่อมสูญเสียน้ำเป็นจำนวน ฉะนั้นปริมาณน้ำที่ต้องการย่อมมากกว่า 8 แก้วต่อวันแน่นอน เพื่อรักษาสมดุลน้ำและแร่ธาตุในร่างกายและชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
ตารางการดื่มน้ำเพื่อรักษาสุขภาพร่างกายแบบง่าย ๆ
สุขภาพดีเมื่อดื่มน้ำถูกวิธี
หลังตื่นนอน ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว
หนึ่งในกิจกรรมที่ควรทำทันทีเมื่อตื่นนอนตอนเช้า คือ การดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว เพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น หลังร่างกายขาดน้ำมาทั้งคืนจนทำให้เลือดมีความข้นหนืดสูง นอกจากนี้น้ำเปล่ายังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายอีกด้วย
ดื่มน้ำช่วงสาย 2 แก้ว
การดื่มน้ำตอนสายสามารถแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ประกอบด้วย
เวลา 08.00 น. : ให้ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว ก่อนทานอาหารเช้าประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะถ้ากินอาหารตามทันที น้ำจะไปเจือจางน้ำย่อยส่งผลให้การย่อยอาหารไม่ดี
เวลา 09.00 - 10.00 น. : ดื่มน้ำเปล่าอีก 1 แก้ว เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่ ก่อนขับของเสียออกไปจากร่างกาย
ดื่มน้ำช่วงบ่ายหลังมื้อเที่ยง 2 แก้ว
การดื่มน้ำ 2 แก้ว ในช่วงเวลาหลังมื้อเที่ยงหรือเวลา 13.00 - 16.00 น. ไม่จำเป็นต้องดื่มพร้อมกันทันที ให้ใช้วิธีค่อย ๆ จิบน้ำระหว่างวันเพื่อดับอาการกระหาย ซึ่งการดื่มน้ำวิธีนี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย แต่ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวอีกด้วย
ดื่มน้ำช่วงเย็นก่อนทานข้าว 2 แก้ว
เวลา 17.00 - 19.00 น. : ก่อนเริ่มต้นทานมื้อเย็นประมาณ 1 ชั่วโมง แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า 1 แก้ว เพื่อลดความอยากอาหาร ถือเป็นข้อดีของคนที่กำลังลดน้ำหนักเพราะทำให้ทานข้าวได้น้อยลง
เวลา 19.00 - 21.00 น. : ให้ดื่มน้ำอีก 1 แก้ว โดยค่อย ๆ จิบน้ำเปล่าจนหมดแก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบเลือดและระบบลำไส้
ดื่มน้ำก่อนนอน 1 แก้ว
ก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง แนะนำให้ดื่มน้ำ 1 แก้ว เพื่อชำระล้างสิ่งที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ส่วนเหตุผลที่ไม่ควรดื่มใกล้เวลานอน เพราะอาจทำให้ปวดปัสสาวะกลางดึกจนไปรบกวนการนอนได้
12 ประโยชน์ของการดื่มน้ำเปล่า ที่หลายคนอาจไม่รู้
การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอช่วยให้ระบบในร่างกายได้รับการกระตุ้นและพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ อาทิ
(1) ช่วยบำรุงสุขภาพผิว เพราะการดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ป้องกันเรื่องริ้วรอยและผิวแห้งกร้าน
(2) ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย อันเกิดจากภาวะร่างกายขาดน้ำ
(3) ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น แต่ควรดื่มน้ำก่อนทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที และหลังอาหารอย่างน้อย 30 นาที
(4) ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่
(5) การดื่มน้ำช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากน้ำเข้าไปกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานแคลอรี่เพิ่มสูงขึ้น
(6) กระตุ้นการทำงานของสมอง ตามปกติแล้วสมองมีอัตราการสูญเสียน้ำค่อนข้างเร็ว ทำให้ขาดสมาธิ มีอาการเบื่อหน่าย มึนงง หรือสับสน เมื่อดื่มน้ำอุณหภูมิห้องในปริมาณที่พอเหมาะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้ไวและดียิ่งขึ้น
(7) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ปรับสมดุลในร่างกาย
(8) การดื่มน้ำช่วยขับเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสารเคมีที่เป็นพิษในร่างกาย
(9) ช่วยลดการเกิดกลิ่นปาก เพราะน้ำเข้าไปชะล้างแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในช่องปากออกจากน้ำลาย
(10) ช่วยรักษาสุขภาพไตให้แข็งแรง และป้องกันการเกิดโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
(11) การดื่มน้ำในปริมาณที่พอดี ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคร้าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งลำไส้ และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
(12) ช่วยลดอาการท้องผูกและกระตุ้นระบบขับถ่าย
(13) ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยป้องกันโรคกรดไหลย้อน
ดื่มน้ำน้อยเกินไป อันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ
การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดี
เนื่องจากร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักทั้งในเลือดและในเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้นในแต่ละวันควรดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการ เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไปอาจส่งผลเสียดังนี้
- ไตทำงานหนักขึ้น ปัสสาวะมีสีเข้มและอาจมีกลิ่นฉุน เพราะน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
- มีสารก่อนิ่วที่ตกตะกอนมากกว่าปกติ และอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคนิ่วในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ก่อให้เกิดโรคอ้วน เพราะหากคุณดื่มน้ำอย่างเพียงพอก่อทานอาหารช่วยให้อิ่มเร็วกว่าการทานอาหารโดยไม่ดื่มน้ำเลย
เมื่อรู้กันแล้วว่า น้ำมีความสำคัญกับร่างกายมาก ฉะนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ทุกคนควรหันมาให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำเปล่าควบคู่ไปกับการพักผ่อน ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถึงดูแลตัวเองดีแค่ไหนก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้ เพราะโรคร้ายมักเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อีกทั้งบางโรคมีค่ารักษาค่อนข้างสูงและต้องรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง การเลือกทำประกันภัยสุขภาพเพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองยามเจ็บป่วยในอนาคต จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน โดยฮักส์มีประกันภัยสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม ทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน อย่างประกันภัยสุขภาพ Health Easy จากเมืองไทยประกันภัยที่จ่ายเบี้ยเริ่มต้น 2,160 บาท/ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2975 5855
อ้างอิงข้อมูล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย