loading
ผู้ประกันตนต้องรู้ วิธีคํานวณเงินชดเชยเลิกจ้าง

ผู้ประกันตนต้องรู้ วิธีคํานวณเงินชดเชยเลิกจ้าง

เขียนเมื่อวันที่ 19/10/2021

เงินชดเชยเลิกจ้างประกันสังคม ได้เท่าไหร่

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย ยังคงเผชิญกับการระบาดอย่างหนักถึงแม้จะมีการเร่งให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่จากความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้ส่งผลกระทบทั้งระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว หรือธุรกิจหลากหลายประเภทที่ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงิน และการแบกรับภาระจนสู้ต่อไม่ไหวทำให้ต้องปิดกิจการหรือเลิกจ้างพนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้สามารถหมุนเวียนได้คล่องตัวมากที่สุด บางกิจการถึงแม้จะยังเปิดให้บริการหรือดำเนินต่อไปได้แต่ก็ต้องมีการปรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทลง ปรับช่วงเวลาในการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้มีคนจำนวนไม่น้อยต้องตกงานและอยู่ในสภาพว่างงาน ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์ของตัวเองจากการเป็นผู้ประกันตน หรือผู้มีประกันสังคมทั้งกรณีลูกจ้างประจำหรือผู้ประกันตนเอง สามารถรับสิทธิประกันสังคมในกรณีว่างงานและเงินชดเชยเลิกจ้างได้เช่นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิที่พึงได้รับฮักส์ได้รวบรวมข้อมูลสิทธิประโยชน์ทดแทนในกรณีเลิกจ้างมาฝากกัน 

ใครสามารถรับสิทธิเงินชดเชยเลิกจ้างประกันสังคมได้บ้าง 

ปิดกิจการจากโควิด

เงินชดเชยเลิกจ้างช่วงโควิด

ทางด้านประกันสังคมมีการกำหนดหลักเกณฑ์สิทธิเงินชดเชยเลิกจ้างเงื่อนไขทั้งในกรณีถูกเลิกจ้างและกรณีว่างงาน ดังนี้ 

  1. เป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานหรือถูกเลิกจ้าง
  2. ระยะเวลาในการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ต้องทำการขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบบนเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานของภาครัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง 
  4. ต้องทำการรายงานตัวตามกำหนดการนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน พร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  6. ไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. สำหรับผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้าง จากกรณีดังนี้
  • ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานในกรณี ร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุ
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • ต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

เงินชดเชยเลิกจ้าง คิดยังไง

สำหรับกรณีผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งจะมีการคำนวณจากฐานเงินสมทบพื้นฐานขั้นต่ำจำนวน 1,650 บาทต่อเดือน และมีฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน 

ตัวอย่างการคำนวณเงินชดเชยเลิกจ้าง

ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ยเดือนละ 12,000 บาท ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ผู้ประกันตนจะได้รับเงินเดือนละ 6,000 บาท 

ในกรณียื่นคำขอรับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างหรือว่างงาน มากกว่า 1 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี จะได้รับสิทธิเงินชดเชยทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นกรณียื่นคำขอรับเงินชดเชยกรณีลาออก เกินกว่า 1 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 90 วัน สามารถยื่นเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์หรือยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่ สนง.ประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ

กฎหมายแรงงาน เลิกจ้าง 2564

ถูกเลิกจ้างงาน

การถูกเลิกจ้างหรือตกงาน

ทางด้านกระทรวงยุติธรรมได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการถูกให้ออกจากงาน ซึ่งลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และ มาตรา 17/1 เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้ 

1.ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป รวมถึงจากสถานการณ์โควิด-19 

  • สำหรับลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชย 
  • ลูกจ้างทำงาน 120 วันถึง 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน 
  • ลูกจ้างที่ทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน 
  • หากทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน
  • หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับอัตราจ้างงาน 240 วัน 
  • ลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน 
  • หากทำงานมาแล้วมากกว่า 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับอัตราจ้างทำงาน 400 วัน

2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือไล่ออกโดยไม่บอกล่วงหน้า

ถือว่านายจ้างมีการทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไปตามมาตรา 118 (เงื่อนไขข้อ 1) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่แจ้งลูกจ้างล่วงหน้าตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในอัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนโดยค่าเสียหายจะถูกคำนวณมากที่สุดไม่เกินค่าจ้าง 3 เดือนของลูกจ้าง

สำหรับผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมและเป็นผู้ประกันตนไม่ควรละเลยข้อมูลเกี่ยวกับการถูกเลิกจ้างหรือสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นอกจากการคำนวณเงินชดเชยว่างงานแล้วควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงห่างไกลโรคและห่างไกลเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการเลือกทำประกันภัยสุขภาพและการเลือกทำประกันภัยโควิดที่คุ้มครองครอบคลุมทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายจะได้อุ่นใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายแม้ยามเจ็บป่วย Hugs Insurance มีกรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพและประกันภัยโควิดหลากหลายที่ตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถติดต่อฮักส์ได้ผ่านช่องทาง Facebook Line หรือ โทร 0 2975 5855

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม, กระทรวงยุติธรรม


#HUGS

#LifeALife

#LifeIsAllRight

#ฮักส์เคียงข้างทุกไลฟ์สไตล์

#ง่ายทุกการใช้ชีวิต

#ฮักส์จริงใจใส่ใจดูแลคุณ

#หมดห่วงเรื่องสุขภาพให้ฮักส์ดูแลคุณ

#ประกันสุขภาพ

#ฮักส์ประกันภัยสุขภาพ

ช่องทางเป็นเพื่อนกับฮักส์

Facebook : HUGS Insurance
Line : HUGS Insurance

scroll top
ติดตาม "HUGS"
ช่องทางชำระเงิน
  • ชําระเงินผ่านบัตร visa, visa payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร mastercard, mastercard payment
  • ชําระเงินผ่านบัตร jcb, jcb payment
  • ชําระเงินผ่าน unionpay, unionpay payment
  • ชําระเงินผ่าน discover, discover payment
  • ชําระเงินผ่าน american express, american express payment
  • ชําระเงินผ่าน diners club, diners club payment
ใบรับรอง/ใบอนุญาต
  • ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัย, oic certificate
  • ประมวลผลบนระบบคลาวด์, aws, amazon-web-services รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ https, ssl certificate https
  • tiba
+