เช็คให้ชัวร์ อาการโอไมครอน โควิดกลายพันธุ์ อันตรายรอบใหม่
เขียนเมื่อวันที่ 30/12/2021
เฝ้าระวังไวรัสโควิด สายพันธุ์โอไมครอนที่กำลังระบาด
โควิด-19 เป็นโรคระบาดที่ยังคงมีการกลายพันธุ์และพบผู้ติดเชื้อใหม่ทุกวัน โดยเริ่มต้นการระบาดมาตั้งแต่ปลายปี 2562 ขณะนั้นจัดเป็นโรคอุบัติใหม่ เพราะไม่เคยพบรหัสพันธุกรรมไวรัสชนิดนี้มาก่อน การแพร่ระบาดในช่วงแรกเป็นไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลกจนกระทั่งมีการคิดค้นวัคซีนเพื่อรักษา แต่โควิดก็ยังมีการกลายพันธุ์มาโดยตลอด จนช่วงปลายปี 2564 ก็เกิดการกลายพันธุ์ครั้งใหม่ชื่อสายพันธุ์ว่า “โอไมครอน”
ข้อมูลการแพร่ระบาดของโควิด สายพันธุ์โอไมครอน
ไวรัสโควิดมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาเพื่อเอาตัวรอดจากภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งการกลายพันธุ์แต่ละครั้งก็จะมีการจัดประเภทออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ โดยองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้แก่
- Variant of Interest - การกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง เป็นการกลายพันธุ์ที่ไม่ได้แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง มักจะรับมือได้ดี เช่น ไวรัสสายพันธุ์มิว (Mu) ไวรัสสายพันธุ์ซีตา (Zeta)
- Variant of Concern - การกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง เป็นการกลายพันธุ์หลายจุดบนตัวไวรัส มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง และยากต่อการรับมือ เช่น ไวรัสสายพันธุ์เดลตา (Delta) ไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron)
ไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 พบการระบาดครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศชื่อสายพันธุ์โอไมครอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 โดยระบุว่ามีการกลายพันธุ์มากกว่า 50 ครั้ง พบการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีนของไวรัสถึง 32 ตำแหน่ง และบริเวณจุดรับที่ยึดติดกับผิวมนุษย์สามารถยึดเกาะได้มากถึง 10 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาที่ยึดเกาะเพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น ทำให้เห็นความวิตกกังวลต่อไวรัสโอไมครอนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีมาตรการเฝ้าระวังออกมาเพื่อป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ใหญ่ในแต่ละประเทศ
อาการของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
อาการป่วยที่อาจเป็นสัญญาณของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่เพิ่งพบการระบาดครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน แต่การแพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างในเวลาเพียงไม่นาน เนื่องมาจากการรู้จักปรับตัวของไวรัสที่เพิ่มระดับการแพร่กระจายให้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น หลายฝ่ายกำลังวิจัยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ แต่เพราะระยะเวลาที่เพิ่งเริ่มระบาดทำให้ข้อมูลค่อนข้างน้อย จากข้อมูลที่มีทำให้ทราบอาการของโควิดโอไมครอน ดังนี้
- มีไข้ต่ำ หรือไม่สบายเฉียบพลัน แต่อาการน้อย พักรักษาตัวเพียง 1 – 2 วันก็หายจากอาการไข้
- มีอาการไอแห้ง จาม และระคายคอ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย ข้อต่อและข้อพับต่าง ๆ และปวดเมื่อยภายในกล้ามเนื้อ
- สามารถรับรสชาติและได้กลิ่นปกติทุกอย่าง
- พบว่าหากติดในผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคเบาหวานจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
- มีเหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะนอนในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกหรือนอนในห้องแอร์
- รู้สึกเหนื่อยอ่อนง่ายกว่าปกติ
การพบไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังคงเป็นเรื่องใหม่และต้องมีการเฝ้าดูอาการในกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลายมากขึ้น เพราะในปัจจุบันพบการติดต่อในผู้ป่วยที่สุขภาพดีและอายุไม่มาก บางส่วนของผู้ป่วยได้รับวัคซีนโควิดครบโดสแล้ว อาการที่แสดงออกของสายพันธุ์โอไมครอนจึงยังไม่รุนแรง หากมีกลุ่มผู้ป่วยมากขึ้นและอาการยังคงไม่รุนแรงเช่นนี้ เน้นการแพร่ระบาดมากกว่าการส่งผลต่อชีวิต โอกาสที่สายพันธุ์โอไมครอนจะทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นก็มีมาก ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดีของการระบาด
การรู้จักอาการเบื้องต้นช่วยให้เฝ้าระวังหากมีอาการสุ่มเสี่ยงได้ ยุคที่โควิดยังคงระบาดและมีโอกาสพบการกลายพันธุ์ได้เรื่อย ๆ การมีประกันภัยสุขภาพเอาไว้จะช่วยเรื่องค่ารักษาพยาบาลเมื่อตรวจพบโควิด รวมถึงช่วยหาเตียงในโรงพยาบาลให้ด้วย ทุกคนจึงควรมีประกันภัยสุขภาพไว้เพื่อความอุ่นใจ
ผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในไทย
อาการของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีสิ่งที่น่าวิตกเกี่ยวกับความรวดเร็วในการระบาด พบการระบาดในหลายภูมิภาคทั่วโลก ประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยสายพันธุ์โอไมครอนในประเทศและจัดเป็นประเทศที่ 47 ของโลกที่พบผู้ป่วยสายพันธุ์ไอไมครอน สถานการณ์การระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนในไทยเป็นดังนี้
- พบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรกในไทยวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ผู้ป่วยเป็นชาวอเมริกันที่เดินทางมาจากสเปน ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน และระวังตัวเองสูงจึงไม่มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
- พบผู้ติดเชื้อต่อมาเป็นชาวไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศไนจีเรีย 2 ราย
- ขณะนี้มีผู้ยืนยันการติดเชื้อสายพันธุ์ไมครอนในไทยแล้วทั้งหมด 8 ราย และกำลังตรวจเพิ่มเติมอีก 3 รายที่มีโอกาสเป็นโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสูง
- การระบาดในไทยสายพันธุ์หลักยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตา แต่จากสถานการณ์ทั่วโลก ไทยมีโอกาสพบการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนเช่นกัน ซึ่งหากอาการไม่รุนแรงเช่นนี้การระบาดของโอไมครอนจะส่งผลในทิศทางที่ดี เพราะอาจจะทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้
- มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ไฮบริดจ์ คือ การรวมตัวกันของสายพันธุ์เดลตาและโอไมครอน ตอนนี้ยังไม่พบผู้ป่วยสายพันธุ์ไฮบริดจ์ในไทย
การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้การเปิดประเทศต้องหยุดชะงักและหันกลับมาใส่เรื่องสุขภาพของคนในชาติอีกครั้งหนึ่ง นอกจากมาตรการรับมือจากทางภาครัฐแล้ว ภาคประชาชนก็สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ด้วยเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบโดส มีการบูสเตอร์เมื่อภูมิเริ่มต่ำ รวมไปถึงการทำประกันภัยสุขภาพเพื่อประกันความเสี่ยงให้ตนเอง ผู้ที่สนใจทำประกันภัยสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างฮักส์ได้หลายช่องทาง ทั้ง Facebook Line หรือโทร 0 2975 5855